วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

ENDU MAGAZINE

EDUCATION MAGAZINE


MAGAZINE เล่มแรกในชีวิตของผม

เป็นนิตยสารที่เกี่ยวกับ "การศึกษา"

มีชื่อว่า ENDU MAGAZINE

การที่ผมได้รับหน้าที่ในการทำนิตยสารร่วมกับเพื่อนๆ

แต่มีความแตกต่างไปจากการทำงานครั้งที่แล้วๆมา

เป็นการทำงานร่วมกับเพื่อนโดยการจับฉลาก

ทำให้ได้อยู่กับเพื่อนใหม่ๆ

ได้เจอกับความคิดที่แตกต่างไปจากเพื่อนกลุ่มเดิมๆ

ความจริงในใจของผม 

คิดว่าทำไมถึงต้องจับฉลากด้วย

ไม่ให้ทำงานกับเพื่อนที่เราสนิท

แต่เมื่อผมจะทำงานร่วมกับเพื่อนๆที่อาจารย์ได้ให้จับฉลาก

ผมรู้เลยว่าการทำงานไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะว่าเมื่อเราได้ทำงานจริงจังแล้ว

จะต้องมีข้อแก้ไขในตัวเองอีกมาก

ต้องมีการวางแผนในหน้าที่ของแต่ละคน

มีการแบ่งตามความถนัด

เพื่อให้ทำนิตยสารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

นิตยสารเล่มนี้สอดแทรกเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ

ให้กับกลุ่มเป้าหมายจะอยู่ในช่วงที่มัธยมศึกษาตอนปลาย

เพื่อเป็นแนวทางในการสอบเข้ามหาลัยที่ต้องการ



ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้ผมได้รับประสบการณ์

ที่ดีแบบนี้ครับ ได้รับมิตรภาพจากเพื่อนๆ

ได้รับประสบการณืในการทำงานแบบใหม่ๆที่ไม่เคยทำมาก่อน

และนี่คือ

ความสำเร็จของพวกผมครับ


V
V
V
V





สุดยอด!! ภาพที่ได้รับรางวัลอันสูงส่ง

อรุณสวัสดิ์ครับ ผู้อ่านทุกท่าน!!

วันนี้ผมจะขอเสนอภาพที่ได้รับรางวัลหรือเรียกได้ว่า 
"ภาพแห่งประวัติศาสตร์" 




ภาพ หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวขาน 
และการโต้เถียงมากมาย ภาพการลงจอดบนดวงจันทร์  
เป็นการประกาศถึงบทสำเร็จทางวิศกรรมของมนุษยชาติ 
โดยอีกนัยหนึ่งเป็นการวิพากวิจารณ์ถึงการหลอกลวงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  
มีความสงสัยต่อข้อเท็จจริงในภาพถ่าย ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ในแง่ของการปลอมแปลงภาพ ด้วยคำถามว่า ทำไม และ อย่างไร  
อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริง 
และความสงสัยก็ขยายออกเป็นวงกว้าง  
หลายๆ กรณีถูกกล่าวถึงในแง่ภารกิจที่สำเร็จลุล่วง 
ของมนุษยชาติ ที่สามารถส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ได้ 
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้  
ธงชาติสหรัฐได้ถูกปักลงเพื่อเป็นเกียรติภูมิแห่งความสำเร็จ 
และได้ชื่อว่าเป็น ผู้พิชิตอวกาศ และยังคงประกาศถึงมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ด้วย


นี่คือถาพประวัติศสาตร์ที่ผมอยากให้ทุกคนได้ชมและจดจำ
แต่ว่าความเป็นจริงนั้น จะมีข้อเท็จจริงอย่างไร
ก็ยังเป็นข้อสงสัยกันต่อไปว่า 
 นีล อาร์มสตรอง” คือชื่อของบุรุษผู้ที่ลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรก ??
ต้องรอข้อพิสูจน์กันต่อไปนะครับ



วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

อิทธิพลของสื่อต่อสังคม : ศึกษากรณีสื่อภาพยนตร์



อิทธิพลของสื่อต่อสังคม : ศึกษากรณีสื่อภาพยนตร์ 

สวัสดีครับบบ!!   

วันนี้ผมจะขอนำเสนอเรื่องราวของอิทธพลของสื่อที่มีต่อสังคม



ภาพยนตร์หรือที่เราเรียกกันว่าหนังนั้น ทุกวันนี้ถือได้ว่าเป็นอีกสื่อหนึ่งซึ่งทรงอิทธิพลมาก ถึงแม้นักวิชาการบางท่านอาจมองว่ามีอิทธิพลน้อยกว่าสื่ออื่นๆ เช่นโทรทัศน์ เพราะเรามีโทรทัศน์กันเกือบทุกบ้าน และมีการเลือกชมโทรทัศน์กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้โทรทัศน์เป็นสื่อที่ครอบงำสังคมโลกไปแล้ว แต่ผมมองในอีกมุมมองหนึ่งว่า สื่อโทรทัศน์หากเราไม่ต้องการบริโภคเราก็ไม่ต้องไปเปิดดู แต่ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ผู้ที่เข้าชมต้องมีความอยากจะบริโภคแล้วเลือกที่จะ เดินเข้ามาชมเอง เป็นสื่อที่ผู้บริโภคต้องพร้อมที่จะเกิดความ “ยินยอม” ที่จะบริโภคเท่านั้น


บทบาทหน้าที่ของภาพยนตร์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษา ทั้งสำหรับการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรมตามหลักสูตรโดยตรง ภาพยนตร์ยังทำให้เกิดค่านิยมด้านต่างๆได้ ทั้งทางดีและทางไม่ดี เช่น ค่านิยมที่ดีทางจริยธรรม ได้แก่ ความกตัญญู ความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ความสุภาพเรียบร้อย ความเสียสละ ความประพฤติที่ควรยกย่องตามแบบของสังคมไทย ภาพยนตร์บางเรื่องทำให้ผู้ชมเกิดความคิด ความเชื่อในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแก้แค้น การเอาตัวรอด การกอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่าสื่อภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของ ปัจเจกบุคคล และมีอิทธิพลต่อภาพใหญ่ของสังคมทั้งในด้านการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจแล้ว การพัฒนาสื่อภาพยนตร์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม แต่การที่ "ภาพยนตร์" ในฐานะ "สื่อ" ที่จะทำหน้าที่ต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยของการมี "สิทธิ" และ "เสรีภาพ" อันเหมาะสมเป็นสำคัญ

ภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อสังคมมากน้อยเพียงใด ให้สังเกตจากการเกิดกระแสความนิยมในตัวละครที่โลดแล่นอยู่บนแผ่นฟิล์ม แล้วพัฒนาความนิยมไปเป็นการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบนักแสดงตามมา ไม่ว่าจะเป็น ในยุคหนึ่งที่วัยรุ่นเมืองไทยมีแฟชั่น ต้องตัดผมรองทรงสูงและเดินเอียงคอตามแบบ “สุภาพบุรุษทรชน” ในกรณีของเด็กอาชีวะที่มีการยกพวกตีกัน หรือก่อคดีปล้นแล้วฆ่าเจ้าทรัพย์ โดยอ้างว่าเลียนแบบมาจากภาพยนตร์ กระทั่งมีเด็กนักเรียนชั้นประถม ไปสักยันต์ “มหาอุด” เลียนแบบตัวละครเอกในภาพยนตร์ หรือกรณีชาวอำเภอพรหมพิรามต่อต้านภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้คุณลักษณะพิเศษของภาพยนตร์อีกประการคือ สามารถนำข้อเท็จจริงหรือสร้างจินตนาการให้เกิดความบันเทิงด้วยเทคนิควิธีการ ต่างๆ ได้หลายแบบ เช่นทำให้เห็นสิ่งแปลกๆพิศดาร สิ่งที่ชวนให้ตื่นเต้นเร้าใจ หรือทำให้ดีใจ เสียใจ สะเทือนอารมณ์ ซึ่งบางครั้งการสร้างภาพยนตร์เพื่อการบันเทิงที่เกินขอบเขตด้านศิลธรรม จริยธรรมของสังคม อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคสื่อหลอมรวมที่ไม่เพียงเนื้อหาใดๆ สามารถบีบอัด ส่งต่อ แพร่กระจาย จากสื่อหนึ่งไปอีกสื่อหนึ่งได้อย่างแทบจะไร้ข้อ จำกัดในเรื่อง ระยะทาง เวลา และ สถานที่ใดๆ ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้ในเพียงช่วงพริบตา แต่ผลที่ตามมาของมันกลับสะท้านสะเทือนต่อเนื่องไปสู่วงกว้าง และอาจส่งต่อความเกลียดชังข้ามรุ่นไปได้


ยกตัวอย่างเช่น กรณีการประท้วงของชาวมุสลิมที่ลุกลามไปทั่วโลก เกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของเนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง Innocence of Muslims ภาพยนตร์อิสระผลงานของ แซม เบซิล นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวสหรัฐที่มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อใช้ในการ ต่อต้านศาสนาอิสลาม และล้อเลียนเรื่องราวชีวิตของศาสดานบีมุฮัมมัด เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของ นบีมุฮัมมัดในฐานะคนธรรมดาและมีประเด็นของรักร่วมเพศ รวมถึงการส่งเสริมทาสเด็กและการคบชู้ เรื่องราวในภาพยนตร์ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาที่ไปสู่ความขัดแย้ง ทางการเมือง จนเกิดความไม่พอใจของเหล่าชาวมุสลิมต่อภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาลบหลู่นบีมุฮัม มัด แต่ตัวผู้สร้างเองกลับออกมายืนยันถึงจุดยืนทางการเมืองของตน พร้อมอ้างว่า Innocence of Muslims เป็นภาพยนตร์การเมืองไม่ใช่ภาพยนตร์ทางศาสนา  การลุกขึ้นมาประท้วงของชาวมุสลิมในครั้งนี้ตอกย้ำอำนาจของสื่อภาพยนตร์ที่มี มากมาย หากใช้ในทางที่ถูกแล้วจะมีคุณประโยชน์ทางการสื่อสาร แต่หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ควรก็อาจกลายเป็นระเบิดปรมาณูดีๆนี่เอง จึงมิแปลกใจที่ในประเทศเยอรมันช่วงสมัยของฮิตเลอร์ได้ใช้ภาพยนตร์ในการชวน เชื่อประชาชน หรือในรัสเซียมีการใช้ภาพยนตร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนความคิดของคน (brainwash) เพื่อโค่นล้มอำนาจของพระเจ้าซาร์ ด้วยอิทธิพลของสื่อภาพยนตร์ ที่มีอำนาจอย่างมหาศาล จึงมิต้องสงสัยเลยว่าทุกประเทศในโลก จึงต้องมีการควบคุมภาพยนตร์โดยรัฐบาล หากมองว่าภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีอำนาจดังที่เราได้พบเห็นในปรากฏการณ์ที่เกิด ขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกแล้ว การจัดวางอำนาจของภาพยนตร์ให้ถูกที่ถูกทางนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้สร้าง ผู้ควบคุมกฎระเบียบตลอดจนผู้ชมต้องพึงตระหนักและเรียนรู้ให้เท่าทัน และควรใช้เสรีภาพในการแสดงออก หรือสร้างภาพยนตร์อย่างมีขอบเขต โดยควรเคารพถึงสิทธิเสรีภาพ และไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามความเชื่อของผู้อื่นด้วย เพราะภาพยนตร์หากนำไปใช้ในทางที่ถูกก็จะผลิดอกออกผลสวยงามให้ได้เก็บกิน แต่หากใช้ในทางที่ผิดหรือไม่เหมาะสมแล้วก็อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือโศกนาฏกรรมขึ้นได้





วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โปสเตอร์หนังเรื่อง "ลัดดาแลนด์"

สวัสดีครับบ!!
     
     วันนี้ผมจะนำเอาโปสเตอร์หนังเรื่อง "ลัดดาแลนด์"



          โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง ลัดดาแลนด์นี้ หากมองดูแล้วก็คงคาดเดาไม่ยากว่าเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญแน่นอน ทั้งจากผีที่นั่งอยู่บนป้ายหมู่บ้าน และจากประโยคที่เขียนไว้บนมุมขวาบนของโปสเตอร์ที่ว่า หมู่บ้านแห่งนี้คำว่าความสุขสันต์ มันหมายถึงความสุดสยอง” ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของชนชั้นกลางไทยที่ติดอยู่ในกระแสทุนนิยม โดยเสนอให้เห็นถึงปัญหาของสถาบันครอบครัวไทย ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวเริ่มเหินห่างเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่บีบบังคับ ซึ่งผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวพยายามเติมเต็มความสุขที่ขาดหายไปของสมาชิกในครอบครัวด้วยวัตสิ่งของหรือการซื้อบ้านหลังใหญ่โตเพื่อเติมเต็มความสุขให้กับสมาชิกในครอบครัว  

          การใช้สีโทนดำ-น้ำตาล ยังเป็นการใช้สีที่เหมาะสมกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เมื่อดูแล้วทำให้เรารู้สึกหดหู่และน่ากลัว ป้ายหมู่บ้านลัดดาแลนด์ซึ่งเป็นสีแดงเด่นก็สะท้อนถึงความสยอดสยองหรือการที่จะมีเหตุการณ์สยองขวัญ
ฆาตรกรรมขึ้นในหมู่บ้านเป็นอย่างแน่นอน และเสื้อที่นักแสดงนำใส่มีการใช้โทนสีเทา ซึ่งสื่อถึงอารมณ์ความเศร้าและหมองหม่นได้เป็นอย่างดี




          รูปแบบและสีของโปสเตอร์ข้างต้นนี้ ให้อารมณ์ถึงความเป็นหนังสยองขวัญได้เป็นอย่างดี โดยการใช้สีดำทำให้เราเกิดความรู้สึกความวังเวงยามค่ำคืน และการใช้กราฟฟิคสีขาวนวลก็ให้ความรู้สึกถึงความเยือกเย็นเข้ากับบรรยากาศ นอกจากนี้จากภาพยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของสังคมไทย ที่มองว่าแมวดำเป็นสัญลักษณ์แห่งความตายและความอัปมงคลอีกด้วย
          สิ่งที่ผมชอบและคิดว่าเป็นเสน่ห์ที่ซ่อนในเรื่องนี้ก็คือ เป็นหนังผีที่ไม่ใช่หนังผีกล่าวคือภาพยนตร์เรื่องนี้มีแกนหลักเน้นสะท้อนปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน และการยึดติดกระแสการบริโภคนิยม โดยมีผีเป็นตัวดำเนินเรื่องที่มีนัยยะหมายถึงปัญหาต่างๆในประเทศที่ถูกซ่อนเอาไว้ โดยอาจกล่าวได้ว่าเบื้องหลังภาพความสวยงามของบ้านนั้นเต็มไปด้วยความน่ากลัวและปัญหาต่างๆนานา โดยสังเกตจากโปสเตอร์จะเห็นได้ว่า ผีในเรื่องนี้มีอิริยาบถเกือบเหมือนคนปกติ กล่าวคือไม่ได้เน้นภาพผีที่น่าหวาดกลัว สยดสยอง หรือความสามารถเหาะเหินเกินความเป็นจิง  ซึ่งผมวิเคราะห์ว่าหากผีเปรียบได้กับปัญหาต่างๆของสังคมแล้ว ผีที่ยังดำเนินชีวิตเหมือนปกติ มาในรูปแบบคล้ายคนก็อาจหมายความว่าปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาเรื่องการตามกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม ปัญหาความรุนแรงในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย


ขอบคุนครับ